วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2557

รายงานการเรียนรู้การใช้ซอฟแวร์สร้างสรรค์ผลงาน

เนื้อหาประกอบด้วย
ชื่อโครงงาน วัยรุ่นไทยและปัญหายาเสพติด
กลุ่มที่  9
สมาชิกกลุ่ม
นางสาว วริศรา จอมสวัสดิ์ ม.5/11 เลขที่ 23
นางสาว ณัฐกุล บุญญา ม.5/11 เลขที่ 35
นางสาว สิรินทิพย์ บุญญานุกูล ม.5/11 เลขที่39
วิธีดำเนินการ
1. คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนอ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่กลุ่มตนเองสนใจ คือเรื่อง วัยรุ่นไทยกับปัญหายาเสพติด
3. ศึกษาการใช้โปรแกรมในการสร้างเกมคอมพิวเตอร์ กับอาจารย์ที่ปรึกษา
4. ศึกษาการใช้โปรแกรม Adobe Flash CS3 เพิ่มเติมผ่านทางเว็บไซต์ในอินเตอร์เน็ต
5. นำความรู้ที่ได้ศึกษามาฝึกฝนและปฏิบัติ
6. สมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่กลุ่มตนเองสนใจ และโพสลงเว็บบล็อกของตนเอง เพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจ
7. สร้างวิธีการใช้งานโปรแกรมลงในเว็บบล็อกของสมาชิกในกลุ่ม
8. นำเสนอรายงานความก้าวหน้าเป็นระยะๆ แก่ครูที่ปรึกษาผ่านทางเว็บบล็อกของสมาชิกในกลุ่ม
ผลการดำเนินการ (สรุปความรู้ที่ได้)
                จากการเรียนรู้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมทำให้
1.รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม
2.รู้จักศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ และผู้ที่มีความรู้
3.รู้วิธีการสร้างเว็บ blog
4.มีความรู้เพิ่มเติมในการสร้างเกม สร้างภาพการ์ตูน และสร้าง background กราฟิกสวย ๆ
5. รู้วิธีการใช้โปรแกรม Adobe flash CS3 เบื้องต้น เช่น การสร้าง file, ส่วนประกอบจอภาพการทำงานบันทึกไฟล์เปิดไฟล์และปิดไฟล์  เป็นต้น
6. สามารถสร้างเกมด้วยโปรแกรม Adobe flash CS3 ได้
7. สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้และเผยแพร่แก่ผู้อื่นได้
แหล่งเรียนรู้
1.อาจารย์กิตติมา เพชรทรัพย์
2.นายกษิน แย้มศรี
3.YouTube
4.เว็บไซต์การใช้โปรแกรม Adobe flash CS3
ประโยชน์ทางการแพทย์ของมอร์ฟีน 


                     มอร์ฟีนออกฤทธิ์กดศูนย์ประสาทสมองส่วน Cerebral Cortex ดังนั้นแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญจึงสามารถนำมอร์ฟีนมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย การใช้มอร์ฟีนก็เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยลดความเจ็บปวดได้ ดังนี้   
                      1.  ช่วยยกระดับความอดกลั้น ต่อความรู้สึกเจ็บปวดให้สูงขึ้น จึงทำให้ช่วยรับความรู้สึกด้านความเจ็บปวดน้อยลง เพราะฤทธิ์ มอร์ฟีนไปกดประสาทส่วนรับความรู้สึก ดังนั้นถ้าความเจ็บปวดของร่างกายเป็นขนาดกลางความเจ็บปวดนั้นจะหายไปได้ แต่ถ้าเป็นความเจ็บปวดขนาดสูง เช่น ปวดแบบเสียดแทง หรือปวดจี๊ด ฤทธิ์ของมอร์ฟีน ก็จะไปกดประสาททำให้เปลี่ยนเป็นความเจ็บปวดแบบตื้อหรือปวดชาๆ ไม่รุนแรงเท่าเดิม ผู้ป่วยจึงทนต่อความเจ็บปวดได้   
                       2.  ช่วยยกระดับอารมณ์ของผู้ป่วยให้สูงขึ้น โดยปกติผู้ป่วยที่มีความเจ็บปวดจะมีอารมณ์เศร้าหมอง และหดหู่ไม่เบิกบาน เมื่อ แพทย์ให้มอร์ฟีนเข้า  ไปกดประสาททำให้เกิดความรู้สึกมึนชาลดความเจ็บปวดลงได้ เป็นเหตุทำให้เกิดความสบายอารมณ์ขึ้น                                                                                                                                                    
                        3.ช่วยขจัดความวิตกกังวล ห่วงใย และความหวาดกลัวให้หมดไป โดยที่ฤทธิ์ของมอร์ฟีนเข้าไปกดประสาทส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ประสาท ซิมพาเตติค ทำให้อวัยวะใน ร่างกายทำงานน้อยลง เท่ากับเป็นการพักผ่อนของร่างกาย ช่วยให้เกิดความผาสุกทางด้านจิตใจ จึงขจัดความวิตกกังวลและความหวาดกลัวลงได้          
                                                   ที่มา: http://iam.hunsa.com/aimy6340/article/2924

สถิติยาเสพติด

     ผลสำรวจในปี 2555 นายวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตติ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่าเกือบครึ่งของประชาชนระบุว่ายังคงมีปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชน/หมู่บ้าน (ร้อยละ 40.4) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ที่มีประชาชนประมาณ 1 ใน 3 ที่ระบุว่ามีปัญหาฯ (ร้อยละ 32.2)  แม้ภาครัฐจะมีมาตรการเชิงรุกในการปราบปราบกระบวนการ ค้ายาเสพติด อย่างเข้มงวด แต่ประชาชนยังคงคิดว่ายาเสพติดหาซื้อได้ง่ายขึ้น มากกว่าเดิมเกือบเท่าตัวจากร้อยละ 8.0 ในปี 2552 เป็นร้อยละ 13.0 ในปี 2555 เช่นเดียวกับปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในโรงเรียน/สถานศึกษา ที่ประชาชนประมาณ 1 ใน 3 ยังคงคิดว่ามีปัญหาอยู่

char2

char2


 แม้ภาครัฐจะกวดขันการจัดระเบียบสังคมในชุมชน/หมู่บ้าน โดยเฉพาะการมั่วสุมของเด็ก/เยาวชนตามสถานบันเทิงต่างๆ เพื่อป้องกันการถูกชักนำไปในทางที่ผิด เนื่องจากในสถานบันเทิงมักหนีไม่พ้นที่จะต้องมีการดื่มสุราอย่างแน่นอน และสุราอาจถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเสี่ยงต่อการอยากรู้อยากลองของวัยรุ่นเช่นกัน ข้อมูลการดื่มสุราของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ตั้งแต่ปี 2547 – 2554 กลุ่มวัยรุ่นมีการดื่มสุราเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 23.5 ในปี 2547 เป็นร้อยละ 23.7 ในปี 2554 แม้ดูเหมือนเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยแต่ถือได้ว่าเป็นจุดกำเนิดที่ทำให้วัยรุ่น/เยาวชนมีโอกาส สัมผัสกับยาเสพติด และตกเป็นทาสยาเสพติดได้ในที่สุด

ที่มา : http://service.nso.go.th/nso/web/article/article_50.html