วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557

การศึกษาโครงงานตัวอย่าง

ตัวอย่างโครงงานเรื่อง  เกมฝนหลวงออนไลน์
ความเป็นมาของโครงงาน
                   การออกแบบการพัฒนาซอฟต์แวร์ก้าวหน้ามากขึ้น ด้วยเทคโนโลยีสื่อผสม (Multimedia) นั้นเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่ กำลังได้รับความสนใจอย่างสูง เพราะการประยุกต์ ใช้งานเทคโนโลยีสื่อผสมสามารถตอบสนองความตองการที่หลากหลายได้มากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับในอดีต ตัวอย่างที่สําคญของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่อผสม   คือ เกม เป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในวงการคอมพิวเตอร์ซึ่งเกมในปัจจุบันมีหลายประเภท เช่น เกมต่อสู้  เกมผจญภัย เกมออนไลน์ และอื่น ๆ เกมเหล่านี้ล้วนมีเนื้อหาเกมที่รุนแรง เมื่อผู้เล่น เล่นเกมแล้วอาจเกิดความก้าวร้าวในเกมติดตัวมา และอีกอย่างที่ในตัวเกมขาดไปคือ การให้  ความรู้ระหว่างการเล่นเกม โดยการแทรกเนื้อหาสาระเขาไปในตัวเกม เพื่อให้ผู้เล่นได้รับความรู้เทคโนโลยีการสร้างเกมในปัจจุบันมหลายเทคโนโลยี ทั้งในเรื่องการสร้างภาพกราฟฟิก  การเคลื่อนไหว ตัวละครควรมีเทคโนโลยีที่แตกต่างกันไป แต่ปัญหาที่พบสวนมากก็จะพบในเรื่องกราฟฟิก ที่เป็นภาพบิตแมพ ความละเอียดของภาพน้อย ภาพแตก เกิดจากการรวมตัวของจุดหลายจุด เมื่อขยายภาพขึ้นภาพก็จะแตก จะพบมากในเกมประเภทเกม RPG   เกมฝนหลวงออนไลน์( Royal Rain Online ) เป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่ได้นําเทคโนโลยีการสร้าง ภาพกราฟิกที่มีความละเอียดสูง คือ ภาพเวคเตอร์ เกิดจากการคํานวณทางดานคณิตศาสตร์ ซึ่งในเกมฝน หลวงออนไลน์ (Royal Rain Online) นี้ได้นําเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ รวมไปถึงการแทรกเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวกับการทําฝนหลวง เพื่อให้ ผู้เล่นได้รับความรู้ และความสนุกสนานอย่างเหมาะสม และมีการทําติดต่อในลักษณะออนไลน์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนระหว่างผู้เล่น รวมไปถึงการจัดการระบบ การสมัครสมาชิกและสวนจัดการกับระบบสําหรับผู้ดูแลระบบ

วัตถุประสงค์ของโครงงาน 
- เพื่อพัฒนาเกมฝนหลวงออนไลน์

ขอบเขตของโครงงาน 
- เนื้อเรื่องของเกมคือ ผู้เล่นรับบทเป็นเจ้าหน้าที่ทําฝนหลวง คือ ไปทําฝนหลวงในเขตพื้
นที่หมู่บ้าน


เอกสารอ้างอิง 
กิตติ ภักดีวัฒนะกุล . คัมภีร์ PHP . บริษัทเคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์ จํากัด , กรุงเทพฯ : 2549. จักรพงษ์ เจือจันทร์ .
โฮมเพจ (Home Page) “Web Application”. [ออนไลน์]. 
 เข้าถึงจาก : http://www.kradandum.com/thesis/thesis-02-3.htm 
(12 มิถุนายน 2551). 
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในสํานักงานอัตโนมัติสําหรับครูธุรกิจ .
 การวิเคราะห์และการออกแบบ ระบบ “Web Application”. [ออนไลน์]. 
 เข้าถึงจาก : 
http://cyberlab.lh1.ku.ac.th/elearn/faculty/educate/edu48/les31.htm
 (12 มิถุนายน 2551). 

ที่มา ;http://com.snru.ac.th/UserFiles/File/Demo_game.pdf

วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2557

รายงานการเรียนรู้การใช้ซอฟแวร์สร้างสรรค์ผลงาน

เนื้อหาประกอบด้วย
ชื่อโครงงาน วัยรุ่นไทยและปัญหายาเสพติด
กลุ่มที่  9
สมาชิกกลุ่ม
นางสาว วริศรา จอมสวัสดิ์ ม.5/11 เลขที่ 23
นางสาว ณัฐกุล บุญญา ม.5/11 เลขที่ 35
นางสาว สิรินทิพย์ บุญญานุกูล ม.5/11 เลขที่39
วิธีดำเนินการ
1. คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนอ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่กลุ่มตนเองสนใจ คือเรื่อง วัยรุ่นไทยกับปัญหายาเสพติด
3. ศึกษาการใช้โปรแกรมในการสร้างเกมคอมพิวเตอร์ กับอาจารย์ที่ปรึกษา
4. ศึกษาการใช้โปรแกรม Adobe Flash CS3 เพิ่มเติมผ่านทางเว็บไซต์ในอินเตอร์เน็ต
5. นำความรู้ที่ได้ศึกษามาฝึกฝนและปฏิบัติ
6. สมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่กลุ่มตนเองสนใจ และโพสลงเว็บบล็อกของตนเอง เพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจ
7. สร้างวิธีการใช้งานโปรแกรมลงในเว็บบล็อกของสมาชิกในกลุ่ม
8. นำเสนอรายงานความก้าวหน้าเป็นระยะๆ แก่ครูที่ปรึกษาผ่านทางเว็บบล็อกของสมาชิกในกลุ่ม
ผลการดำเนินการ (สรุปความรู้ที่ได้)
                จากการเรียนรู้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมทำให้
1.รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม
2.รู้จักศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ และผู้ที่มีความรู้
3.รู้วิธีการสร้างเว็บ blog
4.มีความรู้เพิ่มเติมในการสร้างเกม สร้างภาพการ์ตูน และสร้าง background กราฟิกสวย ๆ
5. รู้วิธีการใช้โปรแกรม Adobe flash CS3 เบื้องต้น เช่น การสร้าง file, ส่วนประกอบจอภาพการทำงานบันทึกไฟล์เปิดไฟล์และปิดไฟล์  เป็นต้น
6. สามารถสร้างเกมด้วยโปรแกรม Adobe flash CS3 ได้
7. สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้และเผยแพร่แก่ผู้อื่นได้
แหล่งเรียนรู้
1.อาจารย์กิตติมา เพชรทรัพย์
2.นายกษิน แย้มศรี
3.YouTube
4.เว็บไซต์การใช้โปรแกรม Adobe flash CS3
ประโยชน์ทางการแพทย์ของมอร์ฟีน 


                     มอร์ฟีนออกฤทธิ์กดศูนย์ประสาทสมองส่วน Cerebral Cortex ดังนั้นแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญจึงสามารถนำมอร์ฟีนมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย การใช้มอร์ฟีนก็เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยลดความเจ็บปวดได้ ดังนี้   
                      1.  ช่วยยกระดับความอดกลั้น ต่อความรู้สึกเจ็บปวดให้สูงขึ้น จึงทำให้ช่วยรับความรู้สึกด้านความเจ็บปวดน้อยลง เพราะฤทธิ์ มอร์ฟีนไปกดประสาทส่วนรับความรู้สึก ดังนั้นถ้าความเจ็บปวดของร่างกายเป็นขนาดกลางความเจ็บปวดนั้นจะหายไปได้ แต่ถ้าเป็นความเจ็บปวดขนาดสูง เช่น ปวดแบบเสียดแทง หรือปวดจี๊ด ฤทธิ์ของมอร์ฟีน ก็จะไปกดประสาททำให้เปลี่ยนเป็นความเจ็บปวดแบบตื้อหรือปวดชาๆ ไม่รุนแรงเท่าเดิม ผู้ป่วยจึงทนต่อความเจ็บปวดได้   
                       2.  ช่วยยกระดับอารมณ์ของผู้ป่วยให้สูงขึ้น โดยปกติผู้ป่วยที่มีความเจ็บปวดจะมีอารมณ์เศร้าหมอง และหดหู่ไม่เบิกบาน เมื่อ แพทย์ให้มอร์ฟีนเข้า  ไปกดประสาททำให้เกิดความรู้สึกมึนชาลดความเจ็บปวดลงได้ เป็นเหตุทำให้เกิดความสบายอารมณ์ขึ้น                                                                                                                                                    
                        3.ช่วยขจัดความวิตกกังวล ห่วงใย และความหวาดกลัวให้หมดไป โดยที่ฤทธิ์ของมอร์ฟีนเข้าไปกดประสาทส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ประสาท ซิมพาเตติค ทำให้อวัยวะใน ร่างกายทำงานน้อยลง เท่ากับเป็นการพักผ่อนของร่างกาย ช่วยให้เกิดความผาสุกทางด้านจิตใจ จึงขจัดความวิตกกังวลและความหวาดกลัวลงได้          
                                                   ที่มา: http://iam.hunsa.com/aimy6340/article/2924

สถิติยาเสพติด

     ผลสำรวจในปี 2555 นายวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตติ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่าเกือบครึ่งของประชาชนระบุว่ายังคงมีปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชน/หมู่บ้าน (ร้อยละ 40.4) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ที่มีประชาชนประมาณ 1 ใน 3 ที่ระบุว่ามีปัญหาฯ (ร้อยละ 32.2)  แม้ภาครัฐจะมีมาตรการเชิงรุกในการปราบปราบกระบวนการ ค้ายาเสพติด อย่างเข้มงวด แต่ประชาชนยังคงคิดว่ายาเสพติดหาซื้อได้ง่ายขึ้น มากกว่าเดิมเกือบเท่าตัวจากร้อยละ 8.0 ในปี 2552 เป็นร้อยละ 13.0 ในปี 2555 เช่นเดียวกับปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในโรงเรียน/สถานศึกษา ที่ประชาชนประมาณ 1 ใน 3 ยังคงคิดว่ามีปัญหาอยู่

char2

char2


 แม้ภาครัฐจะกวดขันการจัดระเบียบสังคมในชุมชน/หมู่บ้าน โดยเฉพาะการมั่วสุมของเด็ก/เยาวชนตามสถานบันเทิงต่างๆ เพื่อป้องกันการถูกชักนำไปในทางที่ผิด เนื่องจากในสถานบันเทิงมักหนีไม่พ้นที่จะต้องมีการดื่มสุราอย่างแน่นอน และสุราอาจถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเสี่ยงต่อการอยากรู้อยากลองของวัยรุ่นเช่นกัน ข้อมูลการดื่มสุราของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ตั้งแต่ปี 2547 – 2554 กลุ่มวัยรุ่นมีการดื่มสุราเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 23.5 ในปี 2547 เป็นร้อยละ 23.7 ในปี 2554 แม้ดูเหมือนเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยแต่ถือได้ว่าเป็นจุดกำเนิดที่ทำให้วัยรุ่น/เยาวชนมีโอกาส สัมผัสกับยาเสพติด และตกเป็นทาสยาเสพติดได้ในที่สุด

ที่มา : http://service.nso.go.th/nso/web/article/article_50.html


วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ลักษณะของผู้ติดยาเสพติด

 การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
-สุขภาพ ทรุดโทรมผอมซูบซีด
-ริมฝีปากเขียวคล้ำ แห้งแตก
-ผิวหนังหยาบกร้าน เป็นแผลพุพอง
-น้ำมูกน้ำตาไหล เหงื่อออกมาก
-มักใส่แว่นกรองแสงสีเข้ม เพื่อต่อสู้กับแสงสว่างเพราะม่านตาขยาย
-มีร่องรอยการเสพยาโดยการฉีด นิ้วมือมีรอยคราบเหลืองสกปรก
-มีรอยแผลเป็นที่ท้องแขนเป็นรอยกรีด ด้วยของมีคม (ทำร้ายตนเอง)

 การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ ความประพฤติ และบุคลิกภาพ
-ขาดการเรียน หนีโรงเรียน การเรียนด้อยลงสติปัญญาเสื่อม การงานบกพร่อง
-ไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อม ชอบแยกตัวเอง หลบซ่อนตัว ทำตัวลึกลับ
-เป็นคนเจ้าอารมณ์ หงุดหงิด เอาแต่ใจตนเอง ขาดเหตุผล พูดจาก้าวร้าว ดื้อรั้นไม่เชื่อฟัง สามารถทำร้ายบิดามารดาได้
-ไม่สนใจความเป็นอยู่ของตนเอง แต่งกายไม่สุภาพเรียบร้อย สกปรก
-สีหน้าแสดงความผิดหวังกังวล ซึมเศร้า
-พกอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด เช่น เข็มฉีดยา กระดาษตะกั่ว ไม้ขีดไฟ
- เมื่อขาดยาเสพติดจะมีอาการอยากยาเสพติดเกิดขึ้น  เช่น   มีอาการน้ำมูก น้ำตาไหล หาวนอน จามคล้ายเป็นหวัด
กระสับกระส่าย กระวนกระวาย หายใจถี่ลึก จ้องหาแต่ยาเสพติด จะขวนขวายหามาเสพไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ
คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน อาจมีเลือดปนออกมาด้วย เรียกว่า ลงแดงขนลุก เหงื่อออก เป็นตะคริว กล้ามเนื้อกระตุก ขบฟัน ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเสียวในกระดูกดิ้นทุรนทุราย  มีไข้และความดันโลหิต ชักกระตุก นอนไม่หลับ คลุ้มคลั่ง เสียสติ

 สาเหตุของการติดยาเสพติด
-ความอยากรู้อยากลอง ด้วยความคึกคะนอง
-เพื่อนชวน หรือเพื่อนต้องการให้เป็นที่ยอมรับจากกลุ่มเพื่อน
-มีความเชื่อในทางที่ผิด เช่น เชื่อว่ายาเสพติดบางชนิดอาจช่วยให้สบายใจ ลืมความทุกข์หรือช่วยให้ทำงานได้มาก ๆ
-ขาดความระมัดระวังในการใช้ยา เพราะคุณสมบัติ ของยาบางชนิด อาจทำให้ผู้ใช้เกิดการเสพติดได้โดยไม่รู้ตัว
-ใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ หรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานโดยขาดการแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกร
-สภาพแวดล้อมถิ่นที่อยู่อาศัยมีการค้ายาเสพติด หรือมีผู้ติดยาเสพติด
-ถูกหลอกอาจเพื่อประโยชน์ในการค้ายาเสพติด
-เพื่อหนีปัญหา เมื่อมีปัญหาแล้วไม่สามารถแก้ให้กับตนเองได้

ที่มา: http://www.sri.cmu.ac.th/~nsac/All_Page/Knowledge/Behavior_of_Patient.htm

การป้องกันยาเสพติด


1. ป้องกันตนเอง

       ไม่ทดลองเสพยาเสพติดทุกชนิด ถ้ามีปัญหาหรือไม่สบายใจ อย่าเก็บไว้คนเดียว ไม่หาทางออกในทางที่เป็นโทษ ควรปรึกษา พ่อ แม่ ครู ผู้ใหญ่ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น อ่านหนังสือ เล่นกีฬา หรือทำงานอดิเรกต่าง ๆ ระมัดระวังการใช้ยาและศึกษาให้เข้าใจ ถึงโทษ ของยาเสพติด

2. ป้องกันครอบครัว

      ควรสอดส่องดูแลเด็กและบุคคลในครอบครัวอย่าให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด อบรมสั่งสอนให้รู้ถึงโทษภัยของยาเสพติด ดูแลเรื่องการคบเพื่อน คอยส่งเสริมให้เขารู้จักการใช้เวลาในทางที่เป็นประโยชน์ เช่น การทำงานบ้าน เล่นกีฬา ฯลฯ เพื่อป้องกันมิให้เด็กหันเหไปสนใจในยาเสพติด สิ่งสำคัญก็คือ ทุกคนในครอบครัวควรสร้างความรักความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีต่อกัน

3. ป้องกันชุมชน

      หากพบผู้ติดยาเสพติดควรช่วยเหลือแนะนำให้เข้ารับการบำบัดรักษาโดยเร็ว ""การสมัครขอเข้ารับ การบำบัดรักษายาเสพติดก่อนที่ความผิดจะปรากฎต่อเจ้าหน้าที่กฎหมายยกเว้นโทษให้"" และเมื่อรู้ว่าใครผลิต นำเข้า ส่งออก หรือจำหน่ายยาเสพติด ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ศุลกากร นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ หรือเจ้าหน้าที่ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) เพื่อดำเนินการกวาดล้างและปราบปรามมิให้ยาเสพติดกระจายไปสู่ชุมชน

ข่าวยาเสพติด

จับยาบ้าฟรุ้งฟริ้ง 9 หมื่นเม็ด ส่องประกายได้ ฤทธิ์แรงกว่าเดิม


เป็นเม็ดสีส้ม ส่องแสงประกายเมื่อส่องไฟ ฤทธิ์แรงกว่าเดิม

        เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2557 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชุดปราบปรามยาเสพติด กองบังคับการสืบสวน                สอบสวน ตำรวจภูธรภาค 5 ได้เข้าจับกุมตัว นายวีระชาติ สุข อายุ 27 ปี ชาวต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว         จ.เชียงใหม่ และ น.ส.นาเหมย จะอื่อ อายุ 32 ปี สองสามีภรรยาชาวลีซอ พร้อมของกลางยาบ้า          จำนวนมาก ริมถนนเวียงป่าเป้า - แม่ปูนหลวง บ้านสันติสุข หมู่ 1 ต.เวียง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย




            สำหรับการจับกุมครั้งนี้ สืบเนื่องจากชุดปราบปรามยาเสพติด กองบังคับการสืบสวนสอบสวน                  ตำรวจภูธรภาค 5 สืบทราบว่านายวีระชาติ สุข และ น.ส.นาเหมย จะอื่อ มียาบ้าจำนวนมากไว้ใน               ความครองเพื่อจำหน่าย จึงส่งสายลับเข้าติดต่อล่อซื้อยาบ้าจำนวน 94,000 เม็ด ในราคา                         5,000,000 บาทพร้อมนัดหมายส่งมอบยาบ้าในช่วงเย็นวานนี้ (1 กรกฎาคม)



     จนกระทั่งเวลานัดหมายเจ้าหน้าที่พบทั้งสองขี่รถจักรยานยนต์หมายเลขทะเบียน 1 กฌ 9552 เชียงใหม่ โดยมีกระสอบปุ๋ยวางอยู่ระหว่างขา เจ้าหน้าที่จึงแสดงตัวเข้าตรวจค้นพบยาบ้าของกลางทั้งหมดบรรจุในกระสอบปุ๋ยดังกล่าวโดยของกลางยาบ้าเป็นยาบ้าแบบใหม่ที่จับกุมได้เป็นครั้งแรก ซึ่งมีลักษณะเป็นเม็ดสีส้มที่เปล่งประกายแสงสีขาวระยิบระยับเมื่อนำไฟส่อง




        ขณะที่ทางด้าน พล.ต.ต.ธนิตศักดิ์ ธีระสวัสดิ์ รองผู้บัญชการตำรวจภูธรภาค 5 เผยว่า ผู้ต้องหาทั้ง            สองเป็นหนึ่งในเครือข่ายของนายจะเล่อ นักค้ายาเสพติดรายใหญ่ที่เคลื่อนไหวในเขตอำเภอ             เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย และ อ.พร้าว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ โดยรับจ้างขนยาบ้าล็อตนี้ในราคา 1 แสนบาท จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าเนื้อยามีส่วนผสมของสารเคมีที่เพิ่มฤทธิ์รุนแรงมากขึ้น ซึ่งจะส่งตรวจทางเคมีเพื่อพิสูจน์สารต่อไป


วิธีสังเกตผู้ติดยาหรือสารเสพติด 

1. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย สุขภาพทรุดโทรม ผอมซีด ทำงานหนักไม่ไหว ริมฝีปากเขียวคล้ำและแห้ง ร่างกายสกปรกมีกลิ่นเหม็น ชอบใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ใส่แว่นดำเพื่อปกปิด
2. การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ อารมณ์หงุดงิดง่าย พูดจาร้าวขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด สุบบุหรี่จัด มีอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด หน้าตาซึมเศร้า ขาดความเชื่อมั่น จิตใจอ่อนแอ ใช้เงินเปลือง สิ่งของภายในบ้านสูญหายบ่อย
3. แสดงอาการอยากยาเสพติด ตัวสั่น กระตุก ชัก จาม น้ำหมูกไหล ท้องเดิน ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดที่เรียกว่า "ลงแดง" มีไข้ปวดเมื่อยตามร่างกายอย่างรนแรงนอนไม่หลับ ทุรนทุราย
4. อาสัยเทคนิคทางการแพทย์ โดยการเก็บปัสสาวะบุคคลที่สงสัยว่าจะติดยาเสพติดส่งตรวจ ใช้ยาบางชนิดที่สามารถล้างฤทธิ์ของยาเสพติด

UploadImage



สาเหตุที่ทำให้เกิดยาเสพติด

 1. ติดเพราะฤทธิ์ของยา เมื่อร่างกายมนุษย์ได้รับยาเสพติดเข้าไปฤทธิ์ของยาเสพติดจะทำให้ระบบต่างๆ ของร่างกายเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งถ้าการใช้ยาไม่บ่อยหรือนานครั้ง ไม่ค่ยมีผลต่อร่างกาย แต่ถ้าใช้ติดต่อเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งจะทำให้มีผลต่อร่างกายและจิตใจ มีลักษณะ 4 ประการ คือ

1.1 มีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะเสพยาหรือสารนั้นอีกต่อไปเรื่อๆ

1.2 มีความโน้มเอียงที่จะเพิ่มปริมาณของยาเสพติดขึ้นทุดขณะ
1.3 ถ้าถึงเวลาที่เกิดความต้องการแล้วไม่ได้เสพ จะเกิดอาการอยากยา หรืออาการขาดยา เช่น หาว อาจียน น้ำตาน้ำมูกไหล ทุรนทุราย คลุ้มคลั้ง โมโห ขาสติ
1.4 ยาที่เสพนั้นจะไปทำลายสุขภาพของผู้เสพทั้งร่างกาย ทำให้ซูบผอม มีโรคแทรกซ้อน และทางจิตใจ เกิดอาการทางประสาท จิตใจไม่ปกติ

 2. ติดยาเสพติดเพราะสิ่งแวดล้อม

2.1 สภาพแวดล้อมภายนอกของบ้านที่อยู่อาศัย เต้มไปด้วยแหล่งค้ายาเสพติด เช่น ใกล้บรเวณศูนย์การค้า หน้าโรงหนัง ซึ่งเป็นการซื้อยาเสพติดทุกรูปแบบ

2.2 สิ่งแวดล้อมภายในบ้านขาดความอบอุ่น รวมไปถึงปัญหาชีวิตคนในครอบครัวและฐานะทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมจะทำให้เด้กหันไปพึ่งยาเสพติด การขาดความเอาใจใส่ดูแลจากพ่อแม่ และขาดการยอมรับจากครอบครัว เด็กจะหันไปคบเพื่อนร่อมกลุ่มเพื่อต้องการความอบอุ่น สภาพของกลุ่มเพื่อน สภาพของเพื่อนบ้านใกล้เคียง
2.3 สิ่งแวดล้อมทางโรงเรียน เด็กมีปัญหาทางการเรียน เนื่องจากเรียนไม่ทันเพื่อน เบื่อครู เบื่อโรงเรียน ทำให้หนีโรงเรียนไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ตนพอใจ เป็นเหตุให้ตกเป็นเหยื่อของการติดยาเซบติด

3. ติดเพราะความผิดปกติทางร่างกายและจิตใจ

ใน สังคมที่วุ่นวายสับสน เปลี่ยนแปลงรวดเร้วดังเช่นปัจจุบัน ทำให้จิตใจผิดปกติง่าย หากเป็นบุคคลที่มีบุคลิกภาพอ่อนแอในทุกด้าน ทั้งอารมณ์และสติปัญญา รวมทั้งร่างกายไม่สมบูรณ์แข็งแรงก็จะหาสิ่งยึดเหนี่ยว จะตกเป้นทาสยาเสพติดได้ง่าย ผู้ที่มีอารมณ์วู่วามไม่ค่อยยั้งคิดจะหันเข้าหายาเสพติดเพื่อระงับอารมณ์ วู่วามของตน เนื่องจากยาเสพติดมีคุณสมบัติในการกดประสาทและกระตุ้นประสาท ผู้มีจิตใจมั่นคง ขาดความมั่นใจ มีแนวโน้มในการใช้ยาเพื่อบรรเทาความวิตกกังวลของตนให้หมดไปและมีโอกาสติดยา ได้ง่ายกว่าผู้อื่น
       
ความหมายของยาเสพติด

UploadImage

ความหมายของยาเสพติด

          ยาเสพติดหมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้นเมี่อนำเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจนอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง
       
   ลักษณะสำคัญของสารเสพติดจะทำให้เกิดอาการ และอาการแสดงต่อผู้เสพดังนี้  
      
 ๑.เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการใช้สารนั้นในประมาณมากขึ้น         
 ๒. เกิดอาการขาดยาถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้          
 ๓. มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา          
 ๔. สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลงเกิดโทษต่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น ตลอดจนสังคม และประเทศชาติ 

ความหมายโดยทั่วไป

          ยาเสพติด หมายถึง สารหรือยาที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติหรือจากการสังเคราะห์ซึ่งเมื่อบุคคลใดเสพหรือได้รับเข้าไปในร่างกายซ้ำๆ กันแล้วไม่ว่า ด้วยวิธีใดๆเป็นช่วงระยะๆ หรือนานติดต่อกันก็ตามทำให้  

       
1. บุคคลนั้นต้องตกอยู่ใต้อำนาจหรือเป็นทาสของสิ่งนั้นทางด้านร่างกายและจิตใจ หรือจิตใจเพียงอย่างเดียว      
2. ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆหรือทำ ให้สุขภาพของผู้เสพติดเสื่อมโทรมลง      
3. เมื่อถึงเวลาอยากเสพแล้วไม่ได้เสพจะมีอาการผิดปกติทางด้านร่างกายและจิตใจ หรือเฉพาะทางด้านจิตใจเกิดขึ้นในผู้เสพ  ความหมายตามกฎหมาย

          ยาเสพติดให้โทษ หมายความว่า สารเคมี หรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทานดม สูบฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญเช่นต้องเพิ่มขนาดการเสพเรื่อยๆ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยามีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลาและสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลงกลับให้รวมถึงพืช หรือ ส่วนของพืชที่เป็น หรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษดังกล่าวด้วย ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศในราชกิจจานุเบกษาแต่ไม่หมายความถึง ยาสำคัญประจำบ้านบางตำรับตามที่กฎหมายว่าด้วยยาที่มี ยาเสพติดให้โทษผสมอย


ที่มา : http://www.chetupon.ac.th/Yasebtid/Pages/WhatisDrug1.html
http://www.dekgeng.com/thai/conp/7536.htm

วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557

๑. ประเภทของยาเสพติด

          จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท แบ่งเป็น ๔ ประเภท

          ๑. ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น  มอร์ฟีน  เฮโรอีน ยานอนหลับ  ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาทเครื่องดื่มมึนเมา 

ทุกชนิด รวมทั้ง สารระเหย เช่น ทินเนอร์ แล็กเกอร์ น้ำมันเบนซิน กาว เป็นต้น มักพบว่าผู้เสพติดมี ร่างกายซูบซีด ผอมเหลือง 
อ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย


          ๒. ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่  ยาบ้า  ยาอี กระท่อม  โคเคน มักพบว่าผู้เสพติดจะมีอาการ หงุดหงิด กระวนกระวาย จิตสับสนหวาดระแวง บางครั้งมีอาการคลุ้มคลั่ง หรือทำในสิ่งที่คนปกติ ไม่กล้าทำ เช่น ทำร้ายตนเอง หรือฆ่าผู้อื่น เป็นต้น

          ๓. ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี และ เห็ดขี้ควาย เป็นต้น ผู้เสพติดจะมีอาการประสาทหลอน ฝันเฟื่องเห็นแสงสีวิจิตรพิสดาร หูแว่ว ได้ยินเสียง ประหลาดหรือเห็นภาพหลอนที่น่าเกลียดน่ากลัว ควบคุมตนเองไม่ได้ ในที่สุดมักป่วยเป็น
โรคจิต
        ๔. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน คือทั้งกระตุ้นกดและหลอนประสาทร่วมกันได้แก่ ผู้เสพติดมักมี อาการหวาดระแวง ความคิดสับสนเห็นภาพลวงตา หูแว่ว ควบคุมตนเองไม่ได้และป่วยเป็นโรคจิตได้

 ๒. แบ่งตามแหล่งที่มา

          แบ่งตามแหล่งที่เกิด ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ

          ๑. ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตมาจากพืช เช่น ฝิ่น  มอร์ฟีน  กระท่อม  กัญชา เป็นต้น
          ๒. ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน ยาอี  เอ็คตาซี เป็นต้น


๓. แบ่งตามกฎหมาย

          แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ

          ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑  ได้แก่ เฮโรอีน  แอลเอสดี  แอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า  ยาอี หรือ ยาเลิฟ

          ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่ต้องใช้ภายใต้
การควบคุมของแพทย์ และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน หรือ โคคาอีน โคเคอีน และเมทาโดน

          ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๓  ยาเสพติดประเภทนี้  เป็นยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดประเภทที่ ๒ ผสมอยู่ด้วย
มีประโยชน์ทางการแพทย์ การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติด จะมีบทลงโทษกำกับไว้ ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่ ยาแก้ไอ ที่มีตัวยาโคเคอีน ยาแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย ยาฉีดระงับปวดต่าง ๆ เช่น มอร์ฟีน เพทิดีน ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น
          ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๔ คือ สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ หรือประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรคแต่อย่างใด และมีบทลงโทษกำกับไว้ด้วย ได้แก่น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดรย์ และ อะเซติลคลอไรด์ ซึ่งใช้ในการเปลี่ยน มอร์ฟีน เป็น เฮโรอีน สารคลอซูไดอีเฟครีน สามารถใช้ในการผลิต ยาบ้า ได้ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก ๑๒ ชนิด ที่สามารถนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้

          ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๕ เ ป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ ๑ ถึง ๔ ได้แก่ ทุกส่วนของพืช กัญชา ทุกส่วนของพืช กระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557



โทษและพิษภัยของสารเสพย์ติด

.....เนื่องด้วยพิษภัยหรือโทษของสารเสพติดที่เกิดแก่ผู้หลงผิดไปเสพสารเหล่านี้เข้า ซึ่งเป็นโทษที่มองไม่เห็นชัด เปรียบเสมือนเป็นฆาตกรเงียบ ที่ทำลายชีวิตบุคคลเหล่านั้นลงไปทุกวัน ก่อปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสุขภาพ ก่อความเสื่อมโทรมให้แก่สังคมและบ้านเมืองอย่างร้ายแรง เพราะสารเสพย์ติดทุกประเภทที่มีฤทธิ์เป็นอันตรายต่อร่างกายในระบบประสาท สมอง ซึ่งเปรียบเสมือนศูนย์บัญชาการของร่างกายและชีวิตมนุษย์ การติดสารเสพติดเหล่านั้นจึงไม่มีประโยชน์อะไรเกิดขึ้นแก่ร่างกายเลย แต่กลับจะเกิดโรคและพิษร้ายต่างๆ จนอาจทำให้เสียชีวิต หรือ เกิดโทษและอันตรายต่อครอบครัว เพื่อนบ้าน สังคม และชุมชนต่างๆ ต่อไปได้อีกมาก

โทษทางร่างกาย และจิตใจ

1. สารเสพติดจะให้โทษโดยทำให้การปฏิบัติหน้าที่ ของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเสื่อมโทรม พิษภัยของสารเสพย์ติดจะทำลายประสาท สมอง ทำให้สมรรถภาพเสื่อมลง มีอารมณ์ จิตใจไม่ปกติ เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น วิตกกังวล เลื่อนลอยหรือฟุ้งซ่าน ทำงานไม่ได้ อยู่ในภาวะมึนเมาตลอดเวลา อาจเป็นโรคจิตได้ง่าย
2.ด้านบุคลิกภาพจะเสียหมด ขาดความสนใจในตนเองทั้งความประพฤติความสะอาดและสติสัมปชัญญะ มีอากัปกิริยาแปลกๆ เปลี่ยนไปจากเดิม
3. สภาพร่างกายของผู้เสพจะอ่อนเพลีย ซูบซีด หมดเรี่ยวแรง ขาดความกระปรี้กระเปร่าและเกียจคร้าน เฉื่อยชา เพราะกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ปล่อยเนื้อ ปล่อยตัวสกปรก ความเคลื่อนไหวของร่างกายและกล้ามเนื้อต่างๆ ผิดปกติ
4. ทำลายสุขภาพของผู้ติดสารเสพติดให้ทรุดโทรมทุกขณะ เพราะระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายถูกพิษยาทำให้เสื่อมลง น้ำหนักตัวลด ผิวคล้ำซีด เลือดจางผอมลงทุกวัน
5. เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย เพราะความต้านทานโรคน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดโรคหรือเจ็บไข้ได้ง่าย และเมื่อเกิดแล้วจะมีความรุนแรงมาก รักษาหายได้ยาก
6. อาจประสบอุบัติเหตุได้ง่าย สาเหตุเพราะระบบการควบคุมกล้ามเนื้อและประสาทบกพร่อง 
ใจลอย ทำงานด้วยความประมาท และเสี่ยงต่ออุบัติเหตุตลอดเวลา
7. เกิดโทษที่รุนแรงมาก คือ จะเกิดอาการคลุ้มคลั่ง ถึงขั้นอาละวาด เมื่อหิวยาเสพติดและหายาไม่ทัน เริ่มด้วยอาการนอนไม่หลับ น้ำตาไหล เหงื่อออก ท้องเดิน อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก กระวนกระวาย และในที่สุดจะมีอาการเหมือนคนบ้า เป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรม

โทษพิษภัยต่อครอบครัว

1. ความรับผิดชอบต่อครอบครัว และญาติพี่น้องจะหมดสิ้นไป ไม่สนใจที่จะดูแลครอบครัว
2. ทำให้สูญเสียทรัพย์สิน เงินทอง ที่จะต้องหามาซื้อสารเสพติด จนจะไม่มีใช้จ่ายอย่างอื่น และต้องเสียเงินรักษาตัวเอง 
3. ทำงานไม่ได้ขาดหลักประกันของครอบครัว และนายจ้างหมดความไว้วางใจ
4. สูญเสียสมรรถภาพในการหาเลี้ยงครอบครัว นำความหายนะมาสู่ครอบคัวและญาติพี่น้อง